PMK Comprehensive Epilepsy Program

ศูนย์โรคลมชักโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (PMKComprehensive Epilepsy Program)  (See History of PMK CEP) พ.อ.(พิเศษ)ดร.น.พ.โยธิน  ชินวลัญช์ (Senior Col. Dr. Yotin  Chinvarun  M.D. Ph.D.) บทนำ (Introduction) โรคลมชักเป็นโรคที่พบบ่อยในทุกช่วงอายุ พบว่าอุบัติการณ์โรคลมชักในประเทศไทยมีประมาณ 1-1.5% หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 700,000-1,000,000 คนในผู้ป่วยคนไทยที่ป่วยเป็นโรคลมชัก มีผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 30% หรือคิดเป็นตัวเลขประมาณ 30,000-40,000 คน เป็นอย่างต่ำที่เป็นผู้ป่วยที่ดื้อยา ในเกณฑ์การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ยากันชักอย่างเหมาะสมแล้วอย่างน้อย 2 ตัว แล้วยังไม่สามารถคุมอาการชักได้ โดยที่อาจจะยังมีอาการชักอย่างต่อเนื่อง. ในผู้ป่วยเหล่านี้เป็นผู้ป่วยที่สมควรจะได้รับการประเมินเพื่อหาพยาธิสภาพในสมองที่ผิดปกติ เพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยจะสามารถทำการรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่   แต่อย่างไรก็ตามในการตรวจวินิจฉัยเหล่านี้เป็นขั้นตอนที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อน  และในการตรวจเหล่านี้จะต้องมีความละเอียด รอบคอบที่จะตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพ ที่ก่อให้เกิดโรคลมชักได้อย่างถูกต้องแม่นยำ   มิฉะนั้นแล้วการรักษาโดยการผ่าตัดโดยที่ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำเพียงพออาจจะทำให้การผ่าตัดไม่ได้ผล หรือก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนได้  ในการตรวจสิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการประเมินและการตรวจวินิจัฉยโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคลมชักโดยตรง โครงการรักษาผ.ป.โรคลมชักแบบครบวงจร ร.พ.พะะมงกุฎเกล้า   โครงการรักษา ผ.ป.โรคลมชักแบบครบวงจร ร.พ.พะะมงกุฎเกล้าได้ดำเนินการรักษาผ.ป.โรคลมชักมาตั้งแต่ปี 2000 … Continue reading PMK Comprehensive Epilepsy Program